วัวที่นำมาเสนอวันนี้ มาจากภาพปริศนาธรรมแบบเซน มีชื่อว่า “Oxherding” มีด้วยกัน 10 ภาพ เป็นโกอันแบบมีกลอนเพลงประกอบ ถึงจะได้รับอิทธิพลมาจากจีน แต่ชุดภาพการต้อนวัวชุดนี้เป็นภาพสีญี่ปุ่น ปี ค.ศ. 1278 หรือ พ.ศ. 1821
ที่ญี่ปุ่นแรกเริ่มนั้น ศาสนาพุทธเป็นศาตร์ชั้นสูงสำหรับผู้ที่อ่านออกเขียนได้ ชาวนา ชาวบ้านทั่วไป เข้าไม่ถึงเพราะไม่รู้หนังสือ แค่จะทำมาหาเลี้ยงชีพก็ลำบากแล้ว การสื่อสารธรรมะด้วยภาพ อย่างโกอัน แพร่หลายช่วงศตวรรษที่ 11-15 ศาสนาพุทธจึงแผ่ถึงผู้คนหมู่มาก ยังมีนิกายนิชิเร็น/นิจิเร็ง ที่เน้นบทสวดที่สั้น จำง่าย คนไม่รู้หนังสือ ท่องได้ เข้าถึงพุทธได้ ช่วยให้พวกเขาได้พบกับความสงบ โดยเฉพาะชาวบ้านที่ป่วย และใกล้สิ้นใจ เราไม่ได้นำเสนอว่า นิกายไหนดีกว่านิกายไหน ไม่ได้บอกว่าอะไรถูกหรือผิด แต่อยากชวนให้มองจากมุมของพัฒนาการทางศาสนาที่ปรับการสื่อสารเพื่อตอบสนองสิ่งที่สังคมขาดและช่วยเหลือผู้คน อย่างยุคนี้โลกก็ปรับมาเป็นการใช้แอปสอนนั่งสมาธิเป็นต้น [งานชิ้นนี้น่าสนใจตรงที่ มีทั้งภาพโกอัน มีทั้งกลอน มันเป็นงานที่เข้าถึงได้ทุกคน จะจน จะรวย จะรู้หนังสือ หรือไม่รู้ ]
ชุดภาพการต้อนวัวนี้ ได้รับความสนใจจากนานาประเทศมาก …
ดี.ที. ซูซุกิ เป็นรายแรกๆ ที่นำภาพการต้อนวัว นำเสนอต่อโลกเป็นภาษาอังกฤษ ฮายาโอะ คาวาอิ ศึกษาเปรียบเทียบภาพชุดนี้กับชุดภาพการเล่นแร่แปรธาตุ (Alchemy) ทำให้เห็นว่าศาสนาตะวันออก กับศาสตร์ลึกลับทางตะวันตกนั้น มีความคล้ายคลึงกัน และมีหลายท่านนำภาพการต้อนวัวนี้ไปเปรียบกับ แนวคิดเรื่องการเดินทางของฮีโร่ ของโจเซฟ แคมป์เบลล์ [อยากบอกว่าตอนท้ายของฮีโร่เจอร์นี่นั้นเน้นทางโลก แต่การต้อนวัวนั้นเน้นทางธรรมะ] ถ้าเป็น ซี.จี.ยุง ก็จะบอกว่า สิ่งนี้คือ กระบวนการ อินดิวิดูเอชัน (Individuation) แพทเทิร์นที่คล้ายคลึงนี้ สะท้อนความเป็นสากลของวิถีในการพัฒนาจิต (แต่ไม่เหมือนกันเสียทีเดียว) และการนำเสนอธรรมะผ่านภาพ จึงข้ามผ่านข้อจำกัดทางภาษาของนานาชาติ สองเหตุผลนี้น่าจะเป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้โกอันชุดนี้ได้รับความสนใจจากทั่วโลก
ภาพเวอร์ชันนี้นำมาจาก The Metropolitan Museum of Art ลองดูแบบมีแต่ภาพอย่างเดียวดูก่อน หากสนใจอ่านบทกลอนประกอบ ลิงก์และเครดิตเต็มรูปแบบ อยู่ด้านล่างสุด
ค่อยๆ เลื่อน
ภาพที่ 1
ภาพที่ 2
ภาพที่ 3

ภาพที่ 4
ภาพที่ 5
ภาพที่ 6
ภาพที่ 7
ภาพที่ 8
ภาพที่ 9
ภาพที่ 10
รู้สึกอย่างไรเมื่อดูครบ 10 ภาพ?
เครดิตภาพ Oxherding:
อ่านบทกลอนได้จากลิงก์นี้ THE MET
Wada, Stephanie. The Oxherder: A Zen Parable Illustrated. New York: George Braziller, 2002.
Tsuji Nobuo 辻惟雄, Mary Griggs Burke, Nihon Keizai Shinbunsha 日本経済新聞社, and Gifu-ken Bijutsukan 岐阜県美術館. Nyūyōku Bāku korekushon-ten: Nihon no bi sanzennen no kagayaki ニューヨーク·バーク·コレクション展 : 日本の美三千年の輝き(Enduring legacy of Japanese art: The Mary Griggs Burke collection). Exh. cat. [Tokyo]: Nihon Keizai Shinbunsha, 2005, cat. no. 33.
Murase, Miyeko, Il Kim, Shi-yee Liu, Gratia Williams Nakahashi, Stephanie Wada, Soyoung Lee, and David Sensabaugh. Art Through a Lifetime: The Mary Griggs Burke Collection. Vol. 1, Japanese Paintings, Printed Works, Calligraphy. [New York]: Mary and Jackson Burke Foundation, [2013], p. 20, cat. no. 31.
——-

งานนี้เผยแพร่ภายใต้ลิขสิทธิ์ Creative Commons แบบ Attribution Non-commercial Share Alike (by-nc-sa) โดยผู้สร้างอนุญาตให้ทำซ้ำ แจกจ่าย แสดง และสร้างงานดัดแปลงจากส่วนใดส่วนหนึ่ง ของงานนี้ได้โดยเสรี แต่เฉพาะในกรณีที่ให้เครดิตผู้สร้าง ไม่นำไปใช้ในทางการค้า และเผยแพร่งานดัดแปลงภายใต้ลิขสิทธิ์เดียวกันนี้เท่านั้น
1 ความเห็น