Spoiler Alert! มีเนื้อหาของหนังเรื่อง แด่คริสโตเฟอร์ โรบิน
อาการสะเทือนใจบอบช้ำทั้ง “กายและจิต” หลังผ่านสงครามโลกครั้งที่ 1 เรียกกันว่า “Shell shock” ภาษาจิตวิทยาคือ PTSD-Post traumatic stress disorder ความเครียดหลังเจอเรื่องร้าย และนี่คือสิ่งที่คนเคยผ่านสงครามอย่าง A.A. Milne ต้องเผชิญ แต่งานเขียนที่เต็มไปด้วยจินตนาการและการเล่นกับลูกชายกลับเยียวยาจิตใจของเขา
การเล่นเป็นการบำบัดอย่างหนึ่งแต่ใครจะคิดว่าการเลี้ยงลูกและได้เล่นกับลูกในป่ากลับทำให้จิตใจดีขึ้นได้ นอกจากนี้การเขียนก็เป็น creative expression ที่ช่วยเยียวยาจิตใจของทหารผ่านศึกอย่าง เอ.เอ. มิลน์ อีกด้วย การที่เขาเล่นกับลูกชาย Christopher Robin และเขียนเรื่อง Winnie the Pooh ช่วยดึงด้านใสๆ จินตนาการ ความเยาว์วัยให้กลับมาโลดเล่น อารมณ์ก็จรรโลงขึ้น หากจิตใจติดอยู่แต่กับเรื่องเศร้าหมองมันถ่วงเราให้ร่วง หาอะไรที่ ใส, positive, creative, ขำๆ มาช่วยชูใจไม่ให้จม

Eeyore
ปีก่อนเขียนบทความเรื่อง X-Japan พูดถึงการใช้ดนตรีในการระบายความอัดอั้นตันใจของโยชิกิ-มือกลองและนักแต่งเพลง ให้มองว่าดนตรีเป็น expressive art therapy อย่างหนึ่ง หาช่องระบายความอัดอั้น ความทุกข์ที่ถ่วงจิตออกมาอย่างสร้างสรรค์ ชีวิตไปต่อได้กลายเป็นอาชีพด้วย แต่คนที่พยายามแล้วแต่ไปต่อไม่ได้ก็มีมากนะ
ลองกลับมานึกถึงตัวเองว่าใน 1 วันที่เราตื่น ได้ใช้เวลาและจ่ายพลังอารมณ์ให้กับเรื่องใดบ้าง? เราได้ให้เวลากับด้าน positive มากพอหรือยัง?

คำจำกัดความโดย Deepfilm: หมีชนะขี้ Winnie the Pooh ภาพหมีพูห์กับลูกโป่งแดงโดย Ernest H. Shepard, 1924
ป.ล.
1. หลงรักเด็กที่เล่นเป็น Christopher Robin รอยยิ้มกุมหัวใจป้า
2. ชีวิตของน้อง Christopher ควรเขียนแยกไปอีกประเด็น เรื่องการกลั่นแกล้ง Bullying เอาไว้ก่อน
3. รู้สึกตื่นเต้นกับบทพูดของ เอ.เอ. มิลน์ ตอนต้นเรื่องเกี่ยวกับความเห็นของเขาถึงชนวนการเกิด W.W.I ว่างี่เง่า สงครามเกิดจากการลอบปลงพระชนม์อาร์ชดยุคแห่งออสเตรีย ที่พาคนหลายล้านไปตาย (มองจากมุมของประชาชน) เพราะเราก็คิดแบบนั้นและเขียนใน เข้าใจจิบลิ, บทวิเคราะห์เรื่องปราสาทเวทมนตร์ของฮาวล์, หน้า 202

Christopher Robin หรือ Billy Moon แสดงโดย Will Tilston
Photo by David Appleby – © 2017 Twentieth Century Fox Film Corporation
งานนี้เผยแพร่ภายใต้ลิขสิทธิ์ Creative Commons แบบ Attribution Non-commercial Share Alike (by-nc-sa) โดยผู้สร้างอนุญาตให้ทำซ้ำ แจกจ่าย แสดง และสร้างงานดัดแปลงจากส่วนใดส่วนหนึ่ง ของงานนี้ได้โดยเสรี แต่เฉพาะในกรณีที่ให้เครดิตผู้สร้าง ไม่นำไปใช้ในทางการค้า และเผยแพร่งานดัดแปลงภายใต้ลิขสิทธิ์เดียวกันนี้เท่านั้น
1 ความเห็น